• May 3, 2024

เร่งสร้างผนังคอนกรีตริมแม่น้ำชี ทล.213 “มหาสารคาม” แก้ถนนทรุดตัว

รายงานข่าวจากแขวงทางหลวงมหาสารคาม กรมทางหลวง (ทล.) แจ้งว่า แขวงฯ ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการสัญจรเร่งด่วน บนทางหลวงหมายเลข 213 หรือถนนถีนานนท์ ตอนมหาสารคาม-หนองขอน ระหว่าง กม.3+731-กม.3+803 ระยะทาง 72 เมตร ซึ่งเป็นเส้นทางที่อยู่ติดแม่น้ำชี ขาเข้าเมืองมหาสารคาม ใกล้สี่แยกวังยาว บ้านดินดำ ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม งบประมาณ 4,467,000 บาท เริ่มต้นสัญญาวันที่ 17 ส.ค. 66 สิ้นสุดสัญญา 12 ก.พคำพูดจาก ฟรี เกมสล็อตทดลองเล่น. 67 ระยะเวลา 180 วัน โดยมี กิจการร่วมค้า อาร์เอ็มเอ็น เป็นผู้รับจ้าง

ขณะนี้แขวงฯ ได้ประสานการประปาส่วนภูมิภาค จ.มหาสารคาม เพื่อรื้อย้ายท่อประปาบริเวณที่ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว เตรียมส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับจ้างดำเนินการก่อสร้างผนังคอนกรีตจุดที่มีปัญหา เพื่อแก้ปัญหาการป้องกันดินสไลด์ และถนนทรุดตัวริมตลิ่งแม่น้ำชี คาดว่าดำเนินการแล้วเสร็จตามสัญญาคำพูดจาก ทดลองสล็อต pg

เส้นทางดังกล่าวมีปัญหาถนนทรุดตัว มีรอยแตก และมีดินสไลด์ ส่งผลทำให้ผู้ใช้ทางเสี่ยงต่ออันตราย และไม่ปลอดภัย สาเหตุมาจากน้ำท่วมแม่น้ำชีเมื่อปลายปี 65 ประกอบกับช่วงนี้ฝนตกบ่อย ทำให้ตลิ่งริมแม่น้ำชีทรุดตัวลง และมีดินสไลด์ ส่งผลให้พื้นที่ไหล่ทางได้รับความเสียหายขนาด 1 ช่องจราจร จากเส้นทางดังกล่าวเป็นถนนขนาด 4-6 ช่องจราจร ทิศทางละ 2-3 ช่องจราจร

หลังจากที่มีปัญหา ที่ผ่านมาแขวงฯ ได้นำเครื่องจักรไปดำเนินการซ่อมแซม เพื่อให้ประชาชนสัญจรผ่านได้แล้ว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนไปก่อน รวมทั้งนำแบริเออร์คอนกรีตไปติดตั้งตามแนวเส้นทางที่เกิดเหตุ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย และป้องกันอุบัติเหตุ จนกระทั่งได้รับงบประมาณดังกล่าว เพื่อดำเนินแก้ไขปัญหาการสัญจรเร่งด่วน

นอกจากนี้แขวงฯ ของบประมาณในปี 67 จำนวน 70 ล้านบาท เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวบนเส้นทางให้เกิดความต่อเนื่อง ขณะนี้สำนักสำรวจและออกแบบอยู่ระหว่างออกแบบ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เพื่อทำแนวป้องกันตลิ่ง คาดว่าจะก่อสร้างผนังคอนกรีตบริเวณที่มีปัญหาริมแม่น้ำชี ระยะทางประมาณ 300 เมตร รวมทั้งการดำเนินการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหาถนนทรุดตัว และดินสไลด์ในระยะยาวต่อไป คาดว่าการออกแบบจะได้ข้อสรุปภายในปี 66 ขณะเดียวกันหากได้รับงบประมาณ คาดว่าจะเริ่มดำเนินการแล้วเสร็จในปี 67 ระยะเวลาประมาณ 1 ปี

เมื่อแล้วเสร็จจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการคมนาคมขนส่งบน ทล.213 มีความสะดวก ปลอดภัยมากขึ้น เพราะปัจจุบันมีปริมาณการจราจรจำนวนมากกว่า 2 หมื่นคัน เนื่องจากเป็นเส้นทางสัญจรหลักจากตัวเมืองไปยังมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) และสามารถเดินทางเชื่อมไปหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ได้แก่ จ.กาฬสินธุ์ มุกดาหาร และ สกลนคร รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาคันทางทรุดตัวที่อยู่ติดริมแม่น้ำชีอย่างยั่งยืน ตามนโยบายนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม และ กระทรวงคมนาคม